วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553

พิธีทำบุญของชาวล้านนาที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล ประเพณีตานก๋วยสลาก ลำปาง

      ความร่มเย็นเป็นสุของชาวล้าน สะท้อนออกมาเป็นประเพณีตานก๋วยสลาก ที่สืบทอดกันมายาวนาน ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
 
                ประเพณีตานก๋วยสลาก คือ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นประเพณีเก่าแก่ที่เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยที่พระพุทธเจ้ายังคงมีพระชนม์อยู่ ตานก๋วยสลาก หมายถึง ประเพณี ถวายทานสลากภัต ถือเป็นการถวายเครื่องไทยทายแด่พระสงฆ์ และเป็นประเพณีที่นิยมของชาวเหนือ โดยทั่วไปก่อนวันตานก๋วยสลากหนึ่งวัน ชาวบ้านจะจัดทำพิธีเตรียมสิ่งของไทยทาน ซึ่งเรียกวันนี้ว่าวันดา ชาวบ้านจะบรรจงจัดเครื่องไทยทานลงใน ก๋วย แปลว่า ตะกร้า หรือ ชลอมขนาดเล็ก ที่สานด้วยไม้ไผ่ จากนั้นจะนำข้าวสารอาหารแห้ง บรรจุลงไป แล้วตกแต่งเครื่องไทยทาน ให้เป็นต้นกัลปพฤกษ์ ซึ่งทำด้วยไม้ไผ่ยาว นำมาเหลา และทำเป็นวงกลมซ้อนกันเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นจะนำสิ่งของที่เป็นเครื่องไทยทานมาผูกติดให้สวยงาม  ด้านบนสุดจะนิยมนำร่มมาเสียบไว้ และใช้ธนบัตรผูกติดตามขอบร่ม เพื่อน้อยถวายแด่พระภิกษุสงฆ์อันเป็นเนื้อนาบุญ

                การทำบุญแบบสลากภัตนี้ ถือเป็นการทำบุญแบบไม่เจาะจง เมื่อเตรียมสิ่งของเสร็จแล้ว ก็จะนำไปถวายวันในวันรุ่งขึ้น พร้อสำรับกับข้าว แล้วติดชื่อหรือสลากเอาไว้ เมื่อพระสงฆ์องค์ใดจับได้ของใคร ก็จะมีการประเคนของตามสลาก เมื่อพระท่านฉันเสร็จแล้ว จึงอนุโมทนาแล้วให้พรเจ้าภาพ พร้อมอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้วก็จะเสร็จพิธีถือเป็นประเพณีที่ดีงาม และได้สืบทอดต่อกันมาอย่างยั่งยืน

อร่อยประจำถิ่น
·        ร้านอาหารพื้นเมืองลำปางที่อร่อยมากๆ ชื่อร้านคำหวาน มี แหนมสด แกงโฮะ ลาบเหนือ หมูแดงตากแห้งทอด โดยเฉพาะ หมูยอ และหมูแดงทอด มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ ถ้าเป็นข้าวซอยต้องร้านข้าวซอยซุปเปอร์ สี่แยกทางเข้าสนามบินบนถนน ซุปเปอร์ไฮเวย์ น้ำพริกหนุ่ม แคบหมู ต้องร้านคุณถนอม ตลากอัศวิน ไส้อั่ว แกงฮังเล ต้องร้าน แม่แห ถนนอุปราช

รู้ก่อนเดินทาง
·        ระยะเวลาการทำบุญที่นิยมทำบุญตานก๋วยสลาก คือ ราวๆ เดือนกันยายน-พฤศจิกายนของทุกปี (บางแห่ง อาจจะจัดก่อนหน้าวันเวลาดังกล่าวนี้ แต่ก็ห่างไม่มาก)


ที่มาของบทความ
หนังสือ 102 เที่ยวออกรส

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น